วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

DC IN

หลังจากหายไปหลายวัน วันนี้มีเวลาก็เลยทำเขียนเพิ่มซักหน่อย พอดีว่าช่วงนี้มัวแต่แต่งหนังสือครับ เลยไม่ค่อยมีเวลาเท่าไร  เดี๋ยววันนี้จะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับวงจรไฟเข้าจากอะแดปเตอร์น่ะครับ  หรือจะเรียกว่า adaptor in หรือ dc in ก็ได้ครับ แล้วแต่นิยามแต่ละคน

ก่อนอื่นพาไปดูวงจรก่อนนะครับ 















จากภาพทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดยี่ห้อไหนๆ การทำงานของวงจรก็จะคล้ายๆกัน อุปกรณ์ที่ใช้งานก็จะเหมือนกัน  ตัวต้านต้าน ตัวเก็บประจุ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต  ฉะนั้น ในวงจรชุดไฟเข้านี้ ถือว่าเป็นส่วนที่ง่ายที่สุด ในการตรวจเช็ค และตรวจซ่อม  และพบว่ามันเสียบ่อยๆเช่นกัน  เพราะเนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ต้องรับแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์โดยตรง  ซึ่งแรงดันจะสูงกว่าวงจรจ่ายไฟทั่วๆไปบนเมนบอร์ด แรงดันอะแดปเตอร์ จะอยู่ที่ 18.5 - 20 โวลต์ อันนี้ก็แล้วแต่ยี่ห้อรุ่น
จากภาพจะเห็นว่าไฟจากอะแดปเตอร์ จะเข้ามายังขั้วรับอะแดปเตอร์ PJP1 จากนั้น ไฟบวกก็จะวิ่งผ่านขดลวดเหนี่ยวนำ โดยจะมีตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟฟ้าและลดสัญญาณรบกวน NOISE  ไฟบวก็จะวิ่งไปยังตำแหน่งไฟ VIN  เพื่อจะนำไปใช้งานในวงจรต่อไป 


ในตัวอย่างนี้ ก็จะเหมือนกับตัวอย่างที่แล้ว ไฟจะวิ่งจากขั้วรับอะแดปเตอร์ ผ่านขดลวด ไปยังตำแหน่ง VA1 และจะวิ่งผ่านไดโอดที่ต่อแบบไบอัสตรง ทำให้กระแสไฟไหลผ่านไปได้ โดยจะมีซีเนอร์ไดโอดต่อขนานอยู่ เพื่อทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันไฟและป้องกันไฟเกิน  เพื่อนำไฟที่ได้ไปใช้งานต่อไป



ในภาพไฟจากขั้วอะแดปเตอร์ ที่ขา 1 และ 2  จะวิ่งผ่านไปยัง +DCIN_JACK และผ่านขดลวด PL 4 ไปยังตำแหน่ง +DC_IN เพื่อมารออยู่ที่ ขา 1 2 3 ของมอสเฟต PQ10 เพื่อรอคำสั่งจากขาเกต  โดยแรงดันไฟ +DC_IN อีกส่วนจะวิ่งไหลผ่านตัวต้านทาน ทั้งสองตัว ที่ต่ออนุกรมกันอยู่ เพื่อทำหน้าที่แบ่งแรงดันที่จะจ่ายให้กับขาเกต ฉะนั้น เมื่อแรงดันที่ขาเกตถูกต้อง ตามการไบอัส  มอสเฟต PQ10 ก็จะทำงาน ส่งผลให้ไฟ +19 โวลต์ จะสามารถวิ่งผ่านไปได้ ไฟตำแหน่ง +DC_IN_S5 จึงมีไฟเท่ากับไฟเข้าคือ 19 โวลต์นั่นเอง


สรุปโดยภาพรวมของวงจร ชุดไฟเข้าจากอะแดปเตอร์ จะมีขดลวดคอยทำหน้าที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ กรองไฟและลดสัญญาณรบกวน ไดโอดทำให้ไฟไหลผ่านได้ทิศทางเดียว ตามลักษณะการไบอัสตรง เพื่อป้องกันการต่ออะแดปเตอร์ผิดขั้ว หรือป้องกันไฟย้อนกลับได้  แต่ในทางปฏิบัติคงไม่มีใครต่ออะแดปเตอร์ผิดขั้วมั้งครับ 555  อีกตัวคือซีเนอร์ไดโอด รักษาแรงดันไฟให้คงที่ ป้องกันไฟเกินในวงจร มอสเฟตควบคุมไฟเข้าและออก เปรียบเหมือนกับตัวกั้นไฟ เมื่อโหลดต้นทางช็อต หรือ ปลายทางช็อต จะได้ไม่เป็นภาระซึ่งกันและกัน 555 ผมว่าคนออกแบบวงจรคงคิดแบบเดียวกับผมนะ   สุดท้ายนี้ยังมีวงจรให้ศึกษาอีกมากมาย โดยเฉพาะ วงจร High Side Switch หรือจะเรียก Load Switch  ซึ่งมันเป็นวงจรที่จะต่อจากชุดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  เอาไว้พบกันบทความหน้าน่ะครับ หรือไม่ก็รออ่านหนังสือฉบับเต็มแทนละกัน  อิอิ    วันนี้หาข้าวกินก่อน หิวๆๆ ก่อนจะไปทำงาน  ขอบคุณที่ทนอ่านจนจบนะครับ  55