ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ โดยผมจะขอเรียกชุดนี้ว่า ADAPTOR IN แล้วกันนะครับตามความเข้าใจของผมเอง จะได้อธิบายได้เข้าใจง่ายตรงกัน ส่วนใครจะเรียกชื่อ อะไรยังไง ก็แล้วแต่น่ะครับ ผมเขียนบทความไม่ได้อ้างอิงวิชาการ เลยจำเป็นต้องใช้จินตนาการเข้ามาช่วย 555
เข้าเรื่องเลยนะครับ วงจรชุดนี้มักจะพบเจอเสียอยู่บ่อยๆ อาการเช่น ไฟไม่เข้า ลัดวงจร เพราะไลน์วงจรตรงนี้มันเป็นไลน์ไฟ 19 V จากอะแดปเตอร์โดยตรง ซึ่งวงจรนี้มันเป็นวงจรที่ควบคุมการจ่ายไฟเข้า ออก พร้อมทั้งป้องกันแรงดันไฟที่ย้อนกลับ เข้าไปยังอะแด็ปเตอร์อีกด้วย พอมีการลัดวงจรเกิดขึ้น มันเลยเป็นวงจรชุดแรกๆที่จะเสียก่อนชาวบ้านครับ
ย้อนกลับไปเรื่อง VIN DETECTOR นิดนึงนะครับ เมื่อวงจรชุด VIN DETECTOR ทำการตรวจสอบแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ว่ามีค่าแรงดันไฟฟ้าเพียงพอต่อการนำมาใช้งานหรือไม่
เมื่อตรวจสอบว่าแรงดันไฟฟ้าจากอะแดปเตอร์มีแรงดันเพียงพอต่อการนำไปใช้งานได้แล้ว จะส่งสัญญาณ PACIN และสัญญาณ ACIN ออกไปยังวงจรชุดถัดไป โดยที่ PACIN จะถูกส่งไปยังชุดควบคุมและป้องกันไฟเข้า ออก จากอะแดปเตอร์
สัญญาณ PACIN ซึ่งเป็นสัญญาณไฟที่ถูกส่งมาจากวงจรชุดที่แล้วนั้นจะมีแรงดันประมาณ 3.3V จะวิ่งผ่านตัวต้านทาน PR79 ไปยังจุดต่อไป
ภาพวงจรโดยรวมของวงจรชุดนี้
ผมขอเรียกว่า Adaptor IN แล้วกันน่ะครับ
จากภาพ ไฟ VIN จะมีแรงดันไฟเข้ามา สามารถวิ่งผ่านเฟตตัวแรกได้เลย
ทำให้แรงดันจุด P2 เทียบเท่ากับ VIN จะวิ่งผ่านเฟตตัวที่สองยังไมได้
ต้องรอไฟที่เหมาะสม เพื่อจะมาสั่งออนเฟตตัวที่สองก่อน
หลังจากที่มีสัญญาณ PACIN วิ่งเข้าไปยังขา G ของมอสเฟต
PQ22 และ PQ26 จึงทำให้มอสเฟตทั้งสองตัวทำงาน
เมื่อมอสเฟตทั้งสองตัวทำงานมันจะดึงสัญญาณไฟจากขา D วิ่งลงกราวด์
เมื่อมอสเฟต PQ22 และ PQ26 ทำงาน ไฟที่อยู่ที่จุด
P2 จะไหลผ่าน ตัวต้านทาน PR63 และ PR63
ผ่าน PQ26 ลงกราวด์เพื่อครบวงจร
ซึ่งจะก่อให้มีแรงดันตกคร่อม PR69 ซึ่งเป็นตัวต้านทานที่ต่อไว้สำหรับการแบ่งแรงดัน
เพื่อนำไปจ่ายให้กับขาเกตของมอสเฟตได้อย่างเหมาะสม ตามที่วงจรได้ออกแบบเอาไว้ ซึ่งเราก็สามารถคำนวนได้โดยใช้สูตรการคำนวนวงจรแบ่งแรงดัน ดังนั้นไฟ VIN จึงวิ่งผ่านมอสเฟตทั้งสองตัวไปได้อย่างเต็มที่
เพื่อวิ่งไปยังจุด P3 ซึ่งทำให้ไฟปลายทางจุดนี้
วัดได้เทียบเท่า VIN
สรุปลำดับขั้นการทำงาน
- ไฟ VIN วิ่งผ่านมอสเฟตตัวแรก รออยู่ที่จุด P2
- ไฟ PACIN วิ่งเข้าขาเกตของ PQ22 PQ26 เพื่อสั่งให้มอสเฟตทั้งสองตัวทำงาน
- ไฟ P2 ไหลผ่าน PR63 ,PR69 และ PQ26 ลงกราวด์ เกิดแรงดันตกคร่อม PR69
- แรงดันที่ตกคร่อม PR69 จ่ายให้กับขาเกตุ PQ15 เพื่อสั่งให้ตัวมันทำงาน ส่งผลให้แรงดันไฟที่ขา S วิ่งผ่านไปยังขา D ได้ ไปยังจุด P3
ไฟจาก VIN วิ่งผ่านมอสเฟตทั้งสองตัว ผ่านจุด P3 ผ่านตัวต้านทาน
PR 60 ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้จากตัวจริงๆที่เมนส์บอร์ด
เพราะจะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดตัวใหญ่ๆหน่อย และ ค่าความต้านทานต่ำๆ
ซึ่งในความเป็นจริงเราสามารถวัดไฟจุดนี้ได้ว่ามีมาหรือไม่ เพราะถ้าไฟจุดนี้มีมา แสดงว่าไฟในชุดก่อนหน้านี้ทำงานปกติ
เมื่อผ่านจุดนี้ไปแล้วก็จะไปยังจุด B+
ซึ่งเป็นจุดไฟหลักที่สำคัญที่สุด จะถูกนำไปใช้งานในวงจรไฟอื่นๆ ต่อไป
ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความเรื่องต่อๆไป
ไฟจุด B+ นั้น ถ้าเสียบอะแดปเตอร์ก็จะได้ไฟเทียบเท่ากับไฟ VIN
หรือไฟอะแดปเตอร์นั่นเอง
ถ้าเสียบแบตเตอรี่อย่างเดียว
ไฟจุด B+ ก็คือไฟที่ได้จากแบตเตอรี่นั่นเอง
พูดซะยืดยาว สำหรับคนที่เข้าใจแล้ว
มันก็ง่ายนิดเดียวจริงๆ แต่ถ้าคนไม่เข้าใจก็ยากน่ะ จะบอกให้ 555
ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
เป็นเรื่องจินตนาการล้วนๆ คิดถูกก็ดี ถ้าผมคิดผิดก็พร้อมจะแก้ไขต่อไป ไว้บทความหน้าจะเริ่มลึกลับซับซ้อนกว่านี้ อิอิ
บทความนี้พอล่ะ โม้และมั่วซะนาน ขอตัวไปทำงานหาเงินกินข้าวก่อนแล้วกันนะครับ 55
ขอบคุณครับ
ตอบลบ