วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

LOAD SWITCH

Load Switch เป็นชื่อที่ใช้เรียกวงจรภาคจ่ายไฟรูปแบบหนึ่ง ที่มีการออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่ออยู่ในวงจรซึ่งก็คือมอสเฟต ทำหน้าที่เสมือนสวิตซ์ไฟ ที่คอยควบคุมการจ่ายกระแสไฟ เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟได้มากที่สุด เพื่อที่จะนำกระแสไฟที่ได้นั้นไปจ่ายให้กับโหลดต่างๆ ที่กินกระแสไฟสูงๆ ได้ ซึ่งในวงจรโหลดสวิตซ์นี้จะมีรูปแบบการต่อวงจรแบ่งออกเป็นสองรูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะแบ่งแยกตามลักษณะของการนำไปใช้งาน คือ การต่อวงจรแบบ  High Side Switch และการต่อแบบ  Low side switch  



วงจร High Side Switch และ Low side switch  



บล็อกไดอะแกรมการทำงานของวงจร Load Switch

การใช้มอสเฟตชนิด P ทำหน้าที่เป็นโหลดสวิตซ์


หลักการทำงานของวงจรคือ ใช้พาวเวอร์มอสเฟต ที่มีอัตราการทนแรงดันและกระแสได้สูง คอยทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ที่คอยควบคุมการไหลของกระแสไฟที่ไหลผ่านตัวมัน โดยจะมีการรับคำสั่งจากวงจรชุดควบคุมการจ่ายกระแสไฟอีกทีนึง ดังแสดงในภาพ


ตัวอย่างการควบคุมการจ่ายไฟด้วย Mosfet N-Chanel Ehancement Mode




ตัวอย่างวงจรที่ควบคุมการจ่ายไฟด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์


การไหลของกระแสไฟในวงจรที่ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์


จากภาพเป็นการควบคุมการทำงานของวงจรจ่ายไฟ โดยใช้โมโครคอนโทรลเลอร์ ในการควบคุมการทำงานของมอสเฟต Q2 ที่ขาเกต   เพื่อให้กระแสไฟที่ไหลผ่านตัวต้านทาน R1 และ ตัวต้านทาน R2 ไหลผ่านขาเดรนลงไปยังขาซอร์สได้ ทำให้แรงดันที่ตกคร่อมขาดเดรนและซอร์ส VDS = 0 โวลต์  ส่งผลให้มีแรงดันตกคร่อม R2 เพื่อไปควบคุมแรงดันที่ขาเกตของมอสเฟต Q1 ทำงาน  เมื่อ Q1 ทำงาน ส่งผลให้แรงดันไฟจาก VIN สามารถวิ่งผ่านมอสเฟต Q1 ไปยัง VOUT เพื่อจ่ายกระแสให้กับโหลดต่อไป 





จากวงจรส่วนใหญ่ที่พบเจอในเมนบอร์ด มักนิยมใช้เพาเวอร์มอสเฟต ชนิด P แชนแนล ที่ทำงานในโหมด เอนฮานต์เม้นต์ จำนวนสองตัวต่ออนุกรมกัน เพื่อทำหน้าที่เป็นสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัดต่อการทำงานของแรงดันไฟที่จะไหลเข้ามา และป้องกันไฟย้อนกลับ กรณีที่โหลดช็อตอีกด้วย และด้วยคุณสมบัติการทำงานของมอสเฟต ที่สามารถจ่ายกระแสไฟได้สูง อีกทั้งยังสูญเสียพลังงานต่ำ ในการทำงาน จึงมักจะถูกนำมาใช้งานในวงจรชุดจ่ายไฟที่ต้องการพลังงานสูงๆเป็นหลัก โดยเฉพาะวงจรชุดจ่ายไฟเข้าของเมนบอร์ดโน้ตบุ๊ค ซึ่งจะพบเจอวงจรนี้เกือบทุกเมนบอร์ด







วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Analog System Lab Kit PRO

Analog System Lab Kit PRO บอร์ดทดลองอิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับระบบสัญญาณอนาล็อก



Analog System Lab Kit PRO

Analog System Lab Kit PRO  สำหรับผมมันถูกนำมาใช้เพื่อศึกษาการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสารกึ่งตัวนำ และใช้มันเพื่อศึกษาการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับระบบสัญญาณต่างๆ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และผมคิดว่ามันต้องช่วยได้แน่นอน เพราะเรื่องต่างๆในบอร์ดทดลองนี้เป็นเรื่องที่ผมกำลังศึกษาเพื่อทำเอกสารเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในงานซ่อมโน้ตบุ๊คอยู่ ปรับปรุง เพิ่มเติม ประยุกต์ใช้ น่าจะได้ผลดีเลยทีเดียว อิอิ


ภาพถ่ายกับมือจริงๆน่ะ ภาพด้านหน้าของตัวบอร์ด ถ่ายกลางคืนภาพเลยไม่ค่อยชัดน่ะครับ


ภาพด้านหลังของบอร์ดทดลอง แสดงรายละเอียดของวงจรไว้ทั้งหมด ทำให้ง่ายต่อการศึกษาครับ


ภายในกล่องจะมีหนังสือสามเล่มด้วยกัน ประกอบด้วย 1 schematic 2  manual 3 graph และสำคัญคู่มือทุกเล่มเป็นภาษาอังกฤษหมดนะครับ ผมดูรูปอย่างเดียวพอล่ะ 555 อ่านไม่ออก



หนังสือคู่มือพร้อมคำอธิบาย  ผมก็อ่านไม่เข้าใจหรอก ดูรูปเอา 555



Schematic Diagram มีลายวงจร อะไรก็ง่ายขึ้นเยอะครับ อิอิ



กระดาษกราฟ ไว้ใช้สำหรับพล็อตกราฟ แต่ผมว่ามันหนาเกินไปนะครับ เขียนไม่หมดแน่ๆ 555

และในกล่องยังมีสายสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณนะครับ เป็นสาย IDC หัวท้ายแบบ ตัวผู้ ตัวเมีย และ แบบผสม ให้มาอีก 5 ถุงครับ  ไม่รู้ว่าใช้จริงๆจะถึงห้าเส้นหรือเป่ลา 55


นอกจากนี้ยังมีทรานซิสเตอร์ ไอโอด เฟต มาให้ทดลองด้วยครับ เอาไว้มีเวลาจะหาวงจรอย่างอื่นมาทด่ลองดูครับ น่าจะสนุกและได้ผลดี แค่คิดก็มันแล้วครับ ว่าแต่จะมีเวลาหรือเปล่านะซิ 




ส่วนประกอบทางด้านฮาร์ดแวร์ที่อยู่กับเมนบอร์ดนะครับ พวกไอซีชิพต่างๆ สำหรับใช้ในการทดลองครับ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจครับ opamp dc/dc d/a ldo เรื่องที่ผมให้ความสนใจครับ อิอิ เพราะอะไรน่ะหรอ ไม่บอกครับ รอติดตาม 



ส่วนประกอบของเมนบอร์ด อันนี้อ้างอิงจากคู่มือได้เลยนะครับ ดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ครับ แต่มองด้วยตาเปล่าก็พอเข้าใจครับ ไม่ยากอย่างที่คิด 


อันนี้ผมจะขอแบ่งตามตำแหน่งแล้วกันนะครับ ส่วนหน้าที่การทำงาน วงจร อะไรต่างๆก็เอาไว้ว่ากันวันหลังนะครับ วันนี้ไม่ค่อยสะดวก 555
  1. วงจรออปแอมป์ (OP-Amp) 
  2. วงจรอนาล็อกมัลติไพเลอร์ (analog multipliers)
  3. วงจรแปลงสัญญาณ ดิจิตอล เป็น อนาล็อก digital-to-analog converters (DAC)
  4. วงจรแปลงไฟ ดีซี เป็น ดีซี บัค คอนเวอร์เตอร์ (DC/DC buck converter)
  5. วงจรทรานซิสเตอร์ (transistor)
  6. วงจรแปลงไฟ (LDO regulator )
  7. ทริมเมอร์ ( trimmers)
  8. แหล่งจ่ายไฟ (power supply)
  9. ไอโอด (diode)
  10. โฟโต้บอร์ด proto-board.

ในแต่ละหัวข้อจะมีทฤษฏีให้ศึกษา และมีแบบทดลอง ไว้สำหรับทดลองปฏิบัติ ตามใบงานที่ให้มาในคู่มือนะครับ  รายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด สามารถได้ฟรีจากลิงค์ที่อยู่ด้านล่างนะครับ 


https://youtu.be/7gHTbSWOSaY


http://download.mikroe.com/documents/specials/educational/aslk-pro/aslk-pro-manual-v103.pdf  

http://www.ti.com/lit/ml/ssqt008a/ssqt008a.pdf

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินค้าได้ที่

http://inex.co.th/shop/electronics-digital/analog-system-lab-kit-pro.html

ไว้มีเวลาจะมาอธิบายวงจรการทำงานในแต่ละบท แต่ละอุปกรณ์ให้ได้รับชม รับฟังกันนะครับ ส่วนวันนี้ขอตัวไปอาบน้ำก่อน ง่วงแล้วครับ  ไว้เจอกันใหม่บทความหน้าครับ  บายๆ