Chaptor3 OP-AMP
http://www.mediafire.com/download/rc7l4a343o3btc0/Chaptor3_OP-AMP.pdf
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559
LOAD SWITCH
Load Switch เป็นชื่อที่ใช้เรียกวงจรภาคจ่ายไฟรูปแบบหนึ่ง
ที่มีการออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่ออยู่ในวงจรซึ่งก็คือมอสเฟต ทำหน้าที่เสมือนสวิตซ์ไฟ ที่คอยควบคุมการจ่ายกระแสไฟ เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟได้มากที่สุด
เพื่อที่จะนำกระแสไฟที่ได้นั้นไปจ่ายให้กับโหลดต่างๆ ที่กินกระแสไฟสูงๆ ได้ ซึ่งในวงจรโหลดสวิตซ์นี้จะมีรูปแบบการต่อวงจรแบ่งออกเป็นสองรูปแบบด้วยกัน
ซึ่งจะแบ่งแยกตามลักษณะของการนำไปใช้งาน คือ การต่อวงจรแบบ High Side Switch และการต่อแบบ
Low side switch
วงจร High Side Switch และ Low side switch
บล็อกไดอะแกรมการทำงานของวงจร
Load Switch
การใช้มอสเฟตชนิด P ทำหน้าที่เป็นโหลดสวิตซ์
หลักการทำงานของวงจรคือ ใช้พาวเวอร์มอสเฟต
ที่มีอัตราการทนแรงดันและกระแสได้สูง คอยทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ที่คอยควบคุมการไหลของกระแสไฟที่ไหลผ่านตัวมัน
โดยจะมีการรับคำสั่งจากวงจรชุดควบคุมการจ่ายกระแสไฟอีกทีนึง ดังแสดงในภาพ
ตัวอย่างการควบคุมการจ่ายไฟด้วย Mosfet N-Chanel Ehancement Mode
ตัวอย่างวงจรที่ควบคุมการจ่ายไฟด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
การไหลของกระแสไฟในวงจรที่ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
จากภาพเป็นการควบคุมการทำงานของวงจรจ่ายไฟ โดยใช้โมโครคอนโทรลเลอร์ ในการควบคุมการทำงานของมอสเฟต Q2 ที่ขาเกต เพื่อให้กระแสไฟที่ไหลผ่านตัวต้านทาน R1 และ ตัวต้านทาน R2 ไหลผ่านขาเดรนลงไปยังขาซอร์สได้ ทำให้แรงดันที่ตกคร่อมขาดเดรนและซอร์ส VDS = 0 โวลต์ ส่งผลให้มีแรงดันตกคร่อม R2 เพื่อไปควบคุมแรงดันที่ขาเกตของมอสเฟต Q1 ทำงาน เมื่อ Q1 ทำงาน ส่งผลให้แรงดันไฟจาก VIN สามารถวิ่งผ่านมอสเฟต Q1 ไปยัง VOUT เพื่อจ่ายกระแสให้กับโหลดต่อไป
จากวงจรส่วนใหญ่ที่พบเจอในเมนบอร์ด มักนิยมใช้เพาเวอร์มอสเฟต
ชนิด P แชนแนล ที่ทำงานในโหมด
เอนฮานต์เม้นต์ จำนวนสองตัวต่ออนุกรมกัน เพื่อทำหน้าที่เป็นสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัดต่อการทำงานของแรงดันไฟที่จะไหลเข้ามา และป้องกันไฟย้อนกลับ กรณีที่โหลดช็อตอีกด้วย และด้วยคุณสมบัติการทำงานของมอสเฟต ที่สามารถจ่ายกระแสไฟได้สูง
อีกทั้งยังสูญเสียพลังงานต่ำ ในการทำงาน จึงมักจะถูกนำมาใช้งานในวงจรชุดจ่ายไฟที่ต้องการพลังงานสูงๆเป็นหลัก
โดยเฉพาะวงจรชุดจ่ายไฟเข้าของเมนบอร์ดโน้ตบุ๊ค ซึ่งจะพบเจอวงจรนี้เกือบทุกเมนบอร์ด
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559
Analog System Lab Kit PRO
Analog System Lab Kit PRO บอร์ดทดลองอิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับระบบสัญญาณอนาล็อก
https://youtu.be/7gHTbSWOSaY
http://download.mikroe.com/documents/specials/educational/aslk-pro/aslk-pro-manual-v103.pdf
http://www.ti.com/lit/ml/ssqt008a/ssqt008a.pdf
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินค้าได้ที่
http://inex.co.th/shop/electronics-digital/analog-system-lab-kit-pro.html
ไว้มีเวลาจะมาอธิบายวงจรการทำงานในแต่ละบท แต่ละอุปกรณ์ให้ได้รับชม รับฟังกันนะครับ ส่วนวันนี้ขอตัวไปอาบน้ำก่อน ง่วงแล้วครับ ไว้เจอกันใหม่บทความหน้าครับ บายๆ
Analog System Lab Kit PRO
Analog System Lab Kit PRO สำหรับผมมันถูกนำมาใช้เพื่อศึกษาการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสารกึ่งตัวนำ และใช้มันเพื่อศึกษาการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับระบบสัญญาณต่างๆ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และผมคิดว่ามันต้องช่วยได้แน่นอน เพราะเรื่องต่างๆในบอร์ดทดลองนี้เป็นเรื่องที่ผมกำลังศึกษาเพื่อทำเอกสารเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในงานซ่อมโน้ตบุ๊คอยู่ ปรับปรุง เพิ่มเติม ประยุกต์ใช้ น่าจะได้ผลดีเลยทีเดียว อิอิ
ภาพถ่ายกับมือจริงๆน่ะ ภาพด้านหน้าของตัวบอร์ด ถ่ายกลางคืนภาพเลยไม่ค่อยชัดน่ะครับ
ภาพด้านหลังของบอร์ดทดลอง แสดงรายละเอียดของวงจรไว้ทั้งหมด ทำให้ง่ายต่อการศึกษาครับ
ภายในกล่องจะมีหนังสือสามเล่มด้วยกัน ประกอบด้วย 1 schematic 2 manual 3 graph และสำคัญคู่มือทุกเล่มเป็นภาษาอังกฤษหมดนะครับ ผมดูรูปอย่างเดียวพอล่ะ 555 อ่านไม่ออก
หนังสือคู่มือพร้อมคำอธิบาย ผมก็อ่านไม่เข้าใจหรอก ดูรูปเอา 555
Schematic Diagram มีลายวงจร อะไรก็ง่ายขึ้นเยอะครับ อิอิ
กระดาษกราฟ ไว้ใช้สำหรับพล็อตกราฟ แต่ผมว่ามันหนาเกินไปนะครับ เขียนไม่หมดแน่ๆ 555
และในกล่องยังมีสายสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณนะครับ เป็นสาย IDC หัวท้ายแบบ ตัวผู้ ตัวเมีย และ แบบผสม ให้มาอีก 5 ถุงครับ ไม่รู้ว่าใช้จริงๆจะถึงห้าเส้นหรือเป่ลา 55
นอกจากนี้ยังมีทรานซิสเตอร์ ไอโอด เฟต มาให้ทดลองด้วยครับ เอาไว้มีเวลาจะหาวงจรอย่างอื่นมาทด่ลองดูครับ น่าจะสนุกและได้ผลดี แค่คิดก็มันแล้วครับ ว่าแต่จะมีเวลาหรือเปล่านะซิ
ส่วนประกอบทางด้านฮาร์ดแวร์ที่อยู่กับเมนบอร์ดนะครับ พวกไอซีชิพต่างๆ สำหรับใช้ในการทดลองครับ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจครับ opamp dc/dc d/a ldo เรื่องที่ผมให้ความสนใจครับ อิอิ เพราะอะไรน่ะหรอ ไม่บอกครับ รอติดตาม
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด อันนี้อ้างอิงจากคู่มือได้เลยนะครับ ดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ครับ แต่มองด้วยตาเปล่าก็พอเข้าใจครับ ไม่ยากอย่างที่คิด
อันนี้ผมจะขอแบ่งตามตำแหน่งแล้วกันนะครับ ส่วนหน้าที่การทำงาน วงจร อะไรต่างๆก็เอาไว้ว่ากันวันหลังนะครับ วันนี้ไม่ค่อยสะดวก 555
- วงจรออปแอมป์ (OP-Amp)
- วงจรอนาล็อกมัลติไพเลอร์ (analog multipliers)
- วงจรแปลงสัญญาณ ดิจิตอล เป็น อนาล็อก digital-to-analog converters (DAC)
- วงจรแปลงไฟ ดีซี เป็น ดีซี บัค คอนเวอร์เตอร์ (DC/DC buck converter)
- วงจรทรานซิสเตอร์ (transistor)
- วงจรแปลงไฟ (LDO regulator )
- ทริมเมอร์ ( trimmers)
- แหล่งจ่ายไฟ (power supply)
- ไอโอด (diode)
- โฟโต้บอร์ด proto-board.
ในแต่ละหัวข้อจะมีทฤษฏีให้ศึกษา และมีแบบทดลอง ไว้สำหรับทดลองปฏิบัติ ตามใบงานที่ให้มาในคู่มือนะครับ รายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด สามารถได้ฟรีจากลิงค์ที่อยู่ด้านล่างนะครับ
https://youtu.be/7gHTbSWOSaY
http://download.mikroe.com/documents/specials/educational/aslk-pro/aslk-pro-manual-v103.pdf
http://www.ti.com/lit/ml/ssqt008a/ssqt008a.pdf
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินค้าได้ที่
http://inex.co.th/shop/electronics-digital/analog-system-lab-kit-pro.html
ไว้มีเวลาจะมาอธิบายวงจรการทำงานในแต่ละบท แต่ละอุปกรณ์ให้ได้รับชม รับฟังกันนะครับ ส่วนวันนี้ขอตัวไปอาบน้ำก่อน ง่วงแล้วครับ ไว้เจอกันใหม่บทความหน้าครับ บายๆ
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
DC IN
หลังจากหายไปหลายวัน วันนี้มีเวลาก็เลยทำเขียนเพิ่มซักหน่อย พอดีว่าช่วงนี้มัวแต่แต่งหนังสือครับ เลยไม่ค่อยมีเวลาเท่าไร เดี๋ยววันนี้จะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับวงจรไฟเข้าจากอะแดปเตอร์น่ะครับ หรือจะเรียกว่า adaptor in หรือ dc in ก็ได้ครับ แล้วแต่นิยามแต่ละคน
จากภาพทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดยี่ห้อไหนๆ การทำงานของวงจรก็จะคล้ายๆกัน อุปกรณ์ที่ใช้งานก็จะเหมือนกัน ตัวต้านต้าน ตัวเก็บประจุ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ฉะนั้น ในวงจรชุดไฟเข้านี้ ถือว่าเป็นส่วนที่ง่ายที่สุด ในการตรวจเช็ค และตรวจซ่อม และพบว่ามันเสียบ่อยๆเช่นกัน เพราะเนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ต้องรับแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์โดยตรง ซึ่งแรงดันจะสูงกว่าวงจรจ่ายไฟทั่วๆไปบนเมนบอร์ด แรงดันอะแดปเตอร์ จะอยู่ที่ 18.5 - 20 โวลต์ อันนี้ก็แล้วแต่ยี่ห้อรุ่น
ในภาพไฟจากขั้วอะแดปเตอร์ ที่ขา 1 และ 2 จะวิ่งผ่านไปยัง +DCIN_JACK และผ่านขดลวด PL 4 ไปยังตำแหน่ง +DC_IN เพื่อมารออยู่ที่ ขา 1 2 3 ของมอสเฟต PQ10 เพื่อรอคำสั่งจากขาเกต โดยแรงดันไฟ +DC_IN อีกส่วนจะวิ่งไหลผ่านตัวต้านทาน ทั้งสองตัว ที่ต่ออนุกรมกันอยู่ เพื่อทำหน้าที่แบ่งแรงดันที่จะจ่ายให้กับขาเกต ฉะนั้น เมื่อแรงดันที่ขาเกตถูกต้อง ตามการไบอัส มอสเฟต PQ10 ก็จะทำงาน ส่งผลให้ไฟ +19 โวลต์ จะสามารถวิ่งผ่านไปได้ ไฟตำแหน่ง +DC_IN_S5 จึงมีไฟเท่ากับไฟเข้าคือ 19 โวลต์นั่นเอง
สรุปโดยภาพรวมของวงจร ชุดไฟเข้าจากอะแดปเตอร์ จะมีขดลวดคอยทำหน้าที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ กรองไฟและลดสัญญาณรบกวน ไดโอดทำให้ไฟไหลผ่านได้ทิศทางเดียว ตามลักษณะการไบอัสตรง เพื่อป้องกันการต่ออะแดปเตอร์ผิดขั้ว หรือป้องกันไฟย้อนกลับได้ แต่ในทางปฏิบัติคงไม่มีใครต่ออะแดปเตอร์ผิดขั้วมั้งครับ 555 อีกตัวคือซีเนอร์ไดโอด รักษาแรงดันไฟให้คงที่ ป้องกันไฟเกินในวงจร มอสเฟตควบคุมไฟเข้าและออก เปรียบเหมือนกับตัวกั้นไฟ เมื่อโหลดต้นทางช็อต หรือ ปลายทางช็อต จะได้ไม่เป็นภาระซึ่งกันและกัน 555 ผมว่าคนออกแบบวงจรคงคิดแบบเดียวกับผมนะ สุดท้ายนี้ยังมีวงจรให้ศึกษาอีกมากมาย โดยเฉพาะ วงจร High Side Switch หรือจะเรียก Load Switch ซึ่งมันเป็นวงจรที่จะต่อจากชุดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เอาไว้พบกันบทความหน้าน่ะครับ หรือไม่ก็รออ่านหนังสือฉบับเต็มแทนละกัน อิอิ วันนี้หาข้าวกินก่อน หิวๆๆ ก่อนจะไปทำงาน ขอบคุณที่ทนอ่านจนจบนะครับ 55
ก่อนอื่นพาไปดูวงจรก่อนนะครับ
จากภาพทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดยี่ห้อไหนๆ การทำงานของวงจรก็จะคล้ายๆกัน อุปกรณ์ที่ใช้งานก็จะเหมือนกัน ตัวต้านต้าน ตัวเก็บประจุ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ฉะนั้น ในวงจรชุดไฟเข้านี้ ถือว่าเป็นส่วนที่ง่ายที่สุด ในการตรวจเช็ค และตรวจซ่อม และพบว่ามันเสียบ่อยๆเช่นกัน เพราะเนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ต้องรับแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์โดยตรง ซึ่งแรงดันจะสูงกว่าวงจรจ่ายไฟทั่วๆไปบนเมนบอร์ด แรงดันอะแดปเตอร์ จะอยู่ที่ 18.5 - 20 โวลต์ อันนี้ก็แล้วแต่ยี่ห้อรุ่น
จากภาพจะเห็นว่าไฟจากอะแดปเตอร์ จะเข้ามายังขั้วรับอะแดปเตอร์ PJP1 จากนั้น ไฟบวกก็จะวิ่งผ่านขดลวดเหนี่ยวนำ โดยจะมีตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟฟ้าและลดสัญญาณรบกวน NOISE ไฟบวก็จะวิ่งไปยังตำแหน่งไฟ VIN เพื่อจะนำไปใช้งานในวงจรต่อไป
ในตัวอย่างนี้ ก็จะเหมือนกับตัวอย่างที่แล้ว ไฟจะวิ่งจากขั้วรับอะแดปเตอร์ ผ่านขดลวด ไปยังตำแหน่ง VA1 และจะวิ่งผ่านไดโอดที่ต่อแบบไบอัสตรง ทำให้กระแสไฟไหลผ่านไปได้ โดยจะมีซีเนอร์ไดโอดต่อขนานอยู่ เพื่อทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันไฟและป้องกันไฟเกิน เพื่อนำไฟที่ได้ไปใช้งานต่อไป
ในภาพไฟจากขั้วอะแดปเตอร์ ที่ขา 1 และ 2 จะวิ่งผ่านไปยัง +DCIN_JACK และผ่านขดลวด PL 4 ไปยังตำแหน่ง +DC_IN เพื่อมารออยู่ที่ ขา 1 2 3 ของมอสเฟต PQ10 เพื่อรอคำสั่งจากขาเกต โดยแรงดันไฟ +DC_IN อีกส่วนจะวิ่งไหลผ่านตัวต้านทาน ทั้งสองตัว ที่ต่ออนุกรมกันอยู่ เพื่อทำหน้าที่แบ่งแรงดันที่จะจ่ายให้กับขาเกต ฉะนั้น เมื่อแรงดันที่ขาเกตถูกต้อง ตามการไบอัส มอสเฟต PQ10 ก็จะทำงาน ส่งผลให้ไฟ +19 โวลต์ จะสามารถวิ่งผ่านไปได้ ไฟตำแหน่ง +DC_IN_S5 จึงมีไฟเท่ากับไฟเข้าคือ 19 โวลต์นั่นเอง
สรุปโดยภาพรวมของวงจร ชุดไฟเข้าจากอะแดปเตอร์ จะมีขดลวดคอยทำหน้าที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า ตัวเก็บประจุ กรองไฟและลดสัญญาณรบกวน ไดโอดทำให้ไฟไหลผ่านได้ทิศทางเดียว ตามลักษณะการไบอัสตรง เพื่อป้องกันการต่ออะแดปเตอร์ผิดขั้ว หรือป้องกันไฟย้อนกลับได้ แต่ในทางปฏิบัติคงไม่มีใครต่ออะแดปเตอร์ผิดขั้วมั้งครับ 555 อีกตัวคือซีเนอร์ไดโอด รักษาแรงดันไฟให้คงที่ ป้องกันไฟเกินในวงจร มอสเฟตควบคุมไฟเข้าและออก เปรียบเหมือนกับตัวกั้นไฟ เมื่อโหลดต้นทางช็อต หรือ ปลายทางช็อต จะได้ไม่เป็นภาระซึ่งกันและกัน 555 ผมว่าคนออกแบบวงจรคงคิดแบบเดียวกับผมนะ สุดท้ายนี้ยังมีวงจรให้ศึกษาอีกมากมาย โดยเฉพาะ วงจร High Side Switch หรือจะเรียก Load Switch ซึ่งมันเป็นวงจรที่จะต่อจากชุดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เอาไว้พบกันบทความหน้าน่ะครับ หรือไม่ก็รออ่านหนังสือฉบับเต็มแทนละกัน อิอิ วันนี้หาข้าวกินก่อน หิวๆๆ ก่อนจะไปทำงาน ขอบคุณที่ทนอ่านจนจบนะครับ 55
วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
Chaptor 1 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
Chaptor 1 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับงานซ่อมโน้ตบุ๊ค
http://www.mediafire.com/download/9ob732ivbm29voe/Chapter_1.pdf
http://www.mediafire.com/download/9ob732ivbm29voe/Chapter_1.pdf
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559
Adaptor IN
ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ โดยผมจะขอเรียกชุดนี้ว่า ADAPTOR IN แล้วกันนะครับตามความเข้าใจของผมเอง จะได้อธิบายได้เข้าใจง่ายตรงกัน ส่วนใครจะเรียกชื่อ อะไรยังไง ก็แล้วแต่น่ะครับ ผมเขียนบทความไม่ได้อ้างอิงวิชาการ เลยจำเป็นต้องใช้จินตนาการเข้ามาช่วย 555
เข้าเรื่องเลยนะครับ วงจรชุดนี้มักจะพบเจอเสียอยู่บ่อยๆ อาการเช่น ไฟไม่เข้า ลัดวงจร เพราะไลน์วงจรตรงนี้มันเป็นไลน์ไฟ 19 V จากอะแดปเตอร์โดยตรง ซึ่งวงจรนี้มันเป็นวงจรที่ควบคุมการจ่ายไฟเข้า ออก พร้อมทั้งป้องกันแรงดันไฟที่ย้อนกลับ เข้าไปยังอะแด็ปเตอร์อีกด้วย พอมีการลัดวงจรเกิดขึ้น มันเลยเป็นวงจรชุดแรกๆที่จะเสียก่อนชาวบ้านครับ
ย้อนกลับไปเรื่อง VIN DETECTOR นิดนึงนะครับ เมื่อวงจรชุด VIN DETECTOR ทำการตรวจสอบแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ว่ามีค่าแรงดันไฟฟ้าเพียงพอต่อการนำมาใช้งานหรือไม่
เมื่อตรวจสอบว่าแรงดันไฟฟ้าจากอะแดปเตอร์มีแรงดันเพียงพอต่อการนำไปใช้งานได้แล้ว จะส่งสัญญาณ PACIN และสัญญาณ ACIN ออกไปยังวงจรชุดถัดไป โดยที่ PACIN จะถูกส่งไปยังชุดควบคุมและป้องกันไฟเข้า ออก จากอะแดปเตอร์
สัญญาณ PACIN ซึ่งเป็นสัญญาณไฟที่ถูกส่งมาจากวงจรชุดที่แล้วนั้นจะมีแรงดันประมาณ 3.3V จะวิ่งผ่านตัวต้านทาน PR79 ไปยังจุดต่อไป
ภาพวงจรโดยรวมของวงจรชุดนี้
ผมขอเรียกว่า Adaptor IN แล้วกันน่ะครับ
จากภาพ ไฟ VIN จะมีแรงดันไฟเข้ามา สามารถวิ่งผ่านเฟตตัวแรกได้เลย
ทำให้แรงดันจุด P2 เทียบเท่ากับ VIN จะวิ่งผ่านเฟตตัวที่สองยังไมได้
ต้องรอไฟที่เหมาะสม เพื่อจะมาสั่งออนเฟตตัวที่สองก่อน
หลังจากที่มีสัญญาณ PACIN วิ่งเข้าไปยังขา G ของมอสเฟต
PQ22 และ PQ26 จึงทำให้มอสเฟตทั้งสองตัวทำงาน
เมื่อมอสเฟตทั้งสองตัวทำงานมันจะดึงสัญญาณไฟจากขา D วิ่งลงกราวด์
เมื่อมอสเฟต PQ22 และ PQ26 ทำงาน ไฟที่อยู่ที่จุด
P2 จะไหลผ่าน ตัวต้านทาน PR63 และ PR63
ผ่าน PQ26 ลงกราวด์เพื่อครบวงจร
ซึ่งจะก่อให้มีแรงดันตกคร่อม PR69 ซึ่งเป็นตัวต้านทานที่ต่อไว้สำหรับการแบ่งแรงดัน
เพื่อนำไปจ่ายให้กับขาเกตของมอสเฟตได้อย่างเหมาะสม ตามที่วงจรได้ออกแบบเอาไว้ ซึ่งเราก็สามารถคำนวนได้โดยใช้สูตรการคำนวนวงจรแบ่งแรงดัน ดังนั้นไฟ VIN จึงวิ่งผ่านมอสเฟตทั้งสองตัวไปได้อย่างเต็มที่
เพื่อวิ่งไปยังจุด P3 ซึ่งทำให้ไฟปลายทางจุดนี้
วัดได้เทียบเท่า VIN
สรุปลำดับขั้นการทำงาน
- ไฟ VIN วิ่งผ่านมอสเฟตตัวแรก รออยู่ที่จุด P2
- ไฟ PACIN วิ่งเข้าขาเกตของ PQ22 PQ26 เพื่อสั่งให้มอสเฟตทั้งสองตัวทำงาน
- ไฟ P2 ไหลผ่าน PR63 ,PR69 และ PQ26 ลงกราวด์ เกิดแรงดันตกคร่อม PR69
- แรงดันที่ตกคร่อม PR69 จ่ายให้กับขาเกตุ PQ15 เพื่อสั่งให้ตัวมันทำงาน ส่งผลให้แรงดันไฟที่ขา S วิ่งผ่านไปยังขา D ได้ ไปยังจุด P3
ไฟจาก VIN วิ่งผ่านมอสเฟตทั้งสองตัว ผ่านจุด P3 ผ่านตัวต้านทาน
PR 60 ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้จากตัวจริงๆที่เมนส์บอร์ด
เพราะจะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดตัวใหญ่ๆหน่อย และ ค่าความต้านทานต่ำๆ
ซึ่งในความเป็นจริงเราสามารถวัดไฟจุดนี้ได้ว่ามีมาหรือไม่ เพราะถ้าไฟจุดนี้มีมา แสดงว่าไฟในชุดก่อนหน้านี้ทำงานปกติ
เมื่อผ่านจุดนี้ไปแล้วก็จะไปยังจุด B+
ซึ่งเป็นจุดไฟหลักที่สำคัญที่สุด จะถูกนำไปใช้งานในวงจรไฟอื่นๆ ต่อไป
ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความเรื่องต่อๆไป
ไฟจุด B+ นั้น ถ้าเสียบอะแดปเตอร์ก็จะได้ไฟเทียบเท่ากับไฟ VIN
หรือไฟอะแดปเตอร์นั่นเอง
ถ้าเสียบแบตเตอรี่อย่างเดียว
ไฟจุด B+ ก็คือไฟที่ได้จากแบตเตอรี่นั่นเอง
พูดซะยืดยาว สำหรับคนที่เข้าใจแล้ว
มันก็ง่ายนิดเดียวจริงๆ แต่ถ้าคนไม่เข้าใจก็ยากน่ะ จะบอกให้ 555
ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
เป็นเรื่องจินตนาการล้วนๆ คิดถูกก็ดี ถ้าผมคิดผิดก็พร้อมจะแก้ไขต่อไป ไว้บทความหน้าจะเริ่มลึกลับซับซ้อนกว่านี้ อิอิ
บทความนี้พอล่ะ โม้และมั่วซะนาน ขอตัวไปทำงานหาเงินกินข้าวก่อนแล้วกันนะครับ 55
วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559
VIN Detector
ในบทความก่อนผมได้พูดถึงเรื่องของแหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊ค ซึ่งมาจากแบตเตอรี่ และอะแดปเตอร์ วันนี้จะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊คโดยใช้อะแดปเตอร์กันครับ ว่ามีการทำงานอย่างไร แรงดันเท่าไรจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้
VIN DETECTOR วงจรตรวจสอบแรงดันไฟขาเข้า ทำหน้าที่ตรวจสอบระดับของแรงดันไฟฟ้าจากอะแดปเตอร์ที่ต่อเข้ามาในวงจร
ว่ามีระดับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานหรือไม่
ถ้าระดับแรงดันไฟต่ำกว่าค่าที่แจ้งไว้ในวงจร เครื่องจะไม่สามารถเปิดได้
เพราะฉะนั้นวงจรนี้ก็ถือว่าเป็นวงจรที่มีความสำคัญมากวงจรหนึ่ง
ซึ่งจะขออธิบายการทำงานของวงจรได้ดังนี้
สรุปการทำงานของชุดวงจร VIN Detector
บทความนี้ รู้สึกจะยาวเกินล่ะ แค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ ขอเวลาไปทำงานหาเงิน ซื้อข้าวกินก่อน 555
จากภาพในตารางจะแสดงให้เห็นค่าแรงดันไฟขาเข้าที่สามารถทำให้เครื่องทำงานได้ ถ้าแรงดันไฟเข้าต่ำกว่าแรงดันไฟที่กำหนดไว้เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้
LM358A
Schmitt trigger Circuit
จากภาพเป็นการนำวงจร Schmitt trigger มาใช้งานจริงในวงจรโน๊ตบุ๊ค
จากภาพเป็นการออกแบบวงจรเพื่อแบ่งแรงดันไฟฟ้า
โดยแรงดันไฟขาเข้าจะวิ่งผ่านตัวต้านทานตัวที่หนึ่งและตัวที่สอง
ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทานตัวที่สอง เพื่อนำแรงดันไฟที่ได้ไปจ่ายให้กับขาที่3
ของไอซีออฟแอมป์เพื่อทำการเปรียบเทียบแรงดันกับขาที่2 ต่อไป
จากภาพเป็นการสูตรการคำนวณหาค่าแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตัวที่สอง
( R2)
แรงดันขาที่ 3
จะต้องมีแรงดันมากกว่าแรงดันอ้างอิงในขาที่2 ซึ่งก็คือแรงดัน 3.3 V เพราะฉะนั้น
ถ้าแรงดันขาเข้า VIN มีค่าน้อยกว่าค่าที่ระบุไว้ในวงจร เครื่องก็จะไม่สามารถทำงานได้
เพราะเมื่อแรงดันขาเข้าน้อย จะทำให้แรงดันไฟที่จะผ่านเข้าไปยังขา 3 ของไอซีออฟแอมป์มีค่าน้อยไปด้วย ซึ่งก็คือมีค่าน้อยกว่าแรงดันที่ขา 2
ฉะนั้น ถ้าแรงดันไฟขาเข้า มีค่าตามที่ระบุไว้ในวงจร จะทำให้มีแรงดันไฟขาเข้าที่ขา
3 มากกว่าแรงดันอ้างอิงที่ขา 2 ของไอซีออปแอมป์ เครื่องก็จะสามารถทำงานได้ปกติ
สรุปการทำงานของชุดวงจร VIN Detector
** VIN
Detector เป็นวงจรตรวจสอบระดับแรงดันไฟขาเข้าที่มาจากอะแดปเตอร์เท่านั้น
จะไม่เกี่ยวข้องกับแรงดันไฟที่จ่ายโดยชุดแบตเตอรี่
เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าไหลผ่านวงจรชุดนี้ไปได้จะวิ่งไปยังชุดต่อไปตามสัญญาณ PACIN ACIN ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความต่อไปครับ
เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าไหลผ่านวงจรชุดนี้ไปได้จะวิ่งไปยังชุดต่อไปตามสัญญาณ PACIN ACIN ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความต่อไปครับ
บทความนี้ รู้สึกจะยาวเกินล่ะ แค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ ขอเวลาไปทำงานหาเงิน ซื้อข้าวกินก่อน 555
วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559
จุดเริ่มต้น นับหนึ่งใหม่อีกครั้ง
บล็อกนี้ถูกทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พื้นฐานงานซ่อมคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นไปที่งานซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คเป็นหลัก สิ่งที่เขียนต่อไปนี้ เขียนจากความรู้ที่มีอยู่อันน้อยนิดของเจ้าของบล็อกเท่านั้น เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง บันทึกประจำวัน กันลืม ของเจ้าของบล็อกเท่านั้น ซึ่งผมไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆที่ผู้อื่นนำไปใช้ทั้งสิ้น
มาเริ่มต้นกันเลยนะครับ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นสำคัญมากในงานซ่อมเมนบอร์ด ถ้าบอกว่าไม่รู้เกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เลยแล้วจะอยากจะเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ด ก็บอกได้คำเดียวครับว่าเหนื่อย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถครับ เพราะทุกอย่างมันเรียนรู้กันได้ เชื่อผมดิ ผมเรียนมา 555
มาเริ่มต้นด้วยแหล่งจ่ายไฟกันก่อนแล้วกันนะครับ แหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊คนั้น จะมีอยู่สองอย่างคือ แบตเตอรี่และอะแดปเตอร์ เพราะฉนั้นผมจะพูดทั้งเรื่องการทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ และการทำงานของโน๊ตบุ๊คโดยใช้ไฟจากอะแดปเตอร์
แหล่งจ่ายไฟแรกคือแบตเตอรี่
มาเริ่มต้นการทำงานของแบตเตอรี่กันครับ
จากภาพจะเห็นได้ว่า จุดสำหรับเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้ากับตัวเครื่องนั้นคือตำแหน่ง PJP2
ที่ตำแหน่ง PJP2 นั้นจะสังเกตได้ว่ามีขาสำหรับต่อใช้งานอยู่จำนวนหลายขาด้วยกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจร โดยผมจะกล่าวโดยละเอียดอีกครั้งในภายหลัง โดยไฟหลักที่จะนำมาใช้เลี้ยงในวงจรนั้นจะเป็นไฟที่มาจากขาที่ 1 ซึ่งจะวิ่งผ่านไปยังขดลวด PL2 ไปยังตำแหน่ง BATT+ ซึ่งแรงดันที่ได้นั้นจะมีค่าเทียบเท่ากับแรงดันที่ออกจากตัวแบตเตอรี่
นอกจากนี้ยังมีขาที่จำเป็นในการใช้งานประกอบไปด้วยขา DATA CLOCK TEMP ซึ่งจะทำหน้าที่คอยติดต่อกับชุดชาร์ตแบตเตอรี่และไอโอคอนโทรลเลอร์ที่จะคอยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการทำงาน การชาร์ตแบตเตอรี่ และการตรวจสอบอุณหภูมิของแบตเตอรี่อีกด้วย ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดภายหลัง
แหล่งจ่ายไฟอีกชุดหนึ่งก็คืออะแดปเตอร์
จากภาพด้านบน PJP1 นั้นเป็นคอนเน็คเตอร์สำหรับเชื่อมต่อกับอะแดปเตอร์ เพื่อรับแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์เข้ามา
แรงดันไฟด้านบวก ซึ่งต่ออยู่กับขา 1 ของ PJP1 จะวิ่งผ่าน PL1 ซึ่งเป็นขดลวดทำหน้าที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า ไปยังจุด VIN ซึ่งมีแรงดันเทียบเท่ากับแรงดันขาเข้าคือแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ อาจจะเป็น 18V, 18.5V, 19V, 19.5V, 20V โวลต์ ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงดันของอะแดปเตอร์ โดยจะมีตัวเก็บประจุต่อเพื่อทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบขึ้นอยู่อีกหลายตัว ซึ่งมักจะเสียโดยการชอร์ตอยู่บ่อยๆเหมือนกัน แต่ก็ซ่อมง่ายที่สุดเหมือนกัน อิอิ
หลังจากพูดเรื่องง่ายๆแล้ว มาดูยากขึ้นมาอีกนิดแล้วกันนะครับ
จากภาพ จะเห็นได้ว่า ไฟจากแบตเตอรี่และไฟจากอะแดปเตอร์นั้น จะมีจุดเริ่มต้นคนละจุดกัน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานที่แตกต่างกันด้วย
ในตำแหน่ง BATT+ นั้น เป็นไฟที่มาจากแบตเตอรี่ และในตำแหน่ง VIN นั้นเป็นไฟที่มาจากอะแดปเตอร์
แรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ในตำแหน่ง VIN จะวิ่งผ่าน PD2 ซึ่งคือไดโอดที่สามารถนำไฟได้ทางเดียว วิ่งผ่านตัวต้านทาน PR13 PR14 ไฟยัง ตำแหน่ง VS เพื่อนำไฟจุดนี้ไปใช้ในวงจรอื่นต่อไป
ไฟ VS ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับไอซีออฟแอมป์ ไว้พูดคราวหน้าน่ะครับ หลายเรื่องละตอนนี้ 555
จากภาพ ถ้าไม่มีแรงดันไฟ VIN จากอะแดปเตอร์วิ่งเข้ามา จุด BATT+ ซึ่งมีไฟอยู่นั้นจะวิ่งผ่านไอโอด PD3 ที่คอยทำหน้าที่ให้ไฟไหลผ่านได้ทางเดียว และคอยป้องกันไฟจาก VIN ไหลย้อนเข้ามาด้วย จากนั้นไฟจะวิ่งผ่านไปยังจุด 51ON# ที่ต่อกับสวิตซ์อยู่ รอการกดสวิตซ์เพื่อดึงไฟจุดนี้ลงกราวด์ แล้วจะทำให้ไฟจากแบตเตอรี่สามารถวิ่งผ่าน เฟต PQ5 ไปยังจุดไฟ VS ต่อไปได้
เหนื่อยแล้วครับ หิวข้าว ไว้คราวหน้าเขียน เรียบเรียงใหม่แล้วกันครับ อธิบายเป็นตัวหนังสือมันยากจริงๆครับ ไว้เจอกันคราวหน้าน่ะครับ อิอิ รับรองมึนตึบกว่านี้อีก รับประกันความมั่วครับ 555555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
4/03/61 1. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Basic Electronics) https://youtu.be/XN0n9yomFSo 2. อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semiconductors) https://youtu.b...
-
ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ โดยผมจะขอเรียกชุดนี้ว่า ADAPTOR IN แล้วกันนะครับตามความเข้าใจของผมเอง จะได้อธิบายได้เข้าใจง่ายตรงกัน ส่วนใครจะ...