วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

VIN Detector

ในบทความก่อนผมได้พูดถึงเรื่องของแหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊ค ซึ่งมาจากแบตเตอรี่ และอะแดปเตอร์ วันนี้จะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊คโดยใช้อะแดปเตอร์กันครับ ว่ามีการทำงานอย่างไร แรงดันเท่าไรจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้

 VIN DETECTOR  วงจรตรวจสอบแรงดันไฟขาเข้า ทำหน้าที่ตรวจสอบระดับของแรงดันไฟฟ้าจากอะแดปเตอร์ที่ต่อเข้ามาในวงจร ว่ามีระดับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานหรือไม่ ถ้าระดับแรงดันไฟต่ำกว่าค่าที่แจ้งไว้ในวงจร เครื่องจะไม่สามารถเปิดได้ เพราะฉะนั้นวงจรนี้ก็ถือว่าเป็นวงจรที่มีความสำคัญมากวงจรหนึ่ง ซึ่งจะขออธิบายการทำงานของวงจรได้ดังนี้



จากภาพในตารางจะแสดงให้เห็นค่าแรงดันไฟขาเข้าที่สามารถทำให้เครื่องทำงานได้  ถ้าแรงดันไฟเข้าต่ำกว่าแรงดันไฟที่กำหนดไว้เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ 

LM358A

 Schmitt trigger Circuit






จากภาพเป็นการนำวงจร Schmitt trigger มาใช้งานจริงในวงจรโน๊ตบุ๊ค





จากภาพเป็นการออกแบบวงจรเพื่อแบ่งแรงดันไฟฟ้า โดยแรงดันไฟขาเข้าจะวิ่งผ่านตัวต้านทานตัวที่หนึ่งและตัวที่สอง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทานตัวที่สอง เพื่อนำแรงดันไฟที่ได้ไปจ่ายให้กับขาที่3 ของไอซีออฟแอมป์เพื่อทำการเปรียบเทียบแรงดันกับขาที่2 ต่อไป





จากภาพเป็นการสูตรการคำนวณหาค่าแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตัวที่สอง ( R2) 







แรงดันขาที่ 3 จะต้องมีแรงดันมากกว่าแรงดันอ้างอิงในขาที่2 ซึ่งก็คือแรงดัน 3.3 เพราะฉะนั้น ถ้าแรงดันขาเข้า VIN มีค่าน้อยกว่าค่าที่ระบุไว้ในวงจร  เครื่องก็จะไม่สามารถทำงานได้ เพราะเมื่อแรงดันขาเข้าน้อย จะทำให้แรงดันไฟที่จะผ่านเข้าไปยังขา 3 ของไอซีออฟแอมป์มีค่าน้อยไปด้วย ซึ่งก็คือมีค่าน้อยกว่าแรงดันที่ขา 2 ฉะนั้น ถ้าแรงดันไฟขาเข้า มีค่าตามที่ระบุไว้ในวงจร จะทำให้มีแรงดันไฟขาเข้าที่ขา 3 มากกว่าแรงดันอ้างอิงที่ขา 2 ของไอซีออปแอมป์ เครื่องก็จะสามารถทำงานได้ปกติ




สรุปการทำงานของชุดวงจร VIN Detector



** VIN Detector  เป็นวงจรตรวจสอบระดับแรงดันไฟขาเข้าที่มาจากอะแดปเตอร์เท่านั้น จะไม่เกี่ยวข้องกับแรงดันไฟที่จ่ายโดยชุดแบตเตอรี่ 

เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าไหลผ่านวงจรชุดนี้ไปได้จะวิ่งไปยังชุดต่อไปตามสัญญาณ PACIN  ACIN ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความต่อไปครับ

บทความนี้ รู้สึกจะยาวเกินล่ะ แค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ ขอเวลาไปทำงานหาเงิน ซื้อข้าวกินก่อน 555




3 ความคิดเห็น: