วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

จุดเริ่มต้น นับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

บล็อกนี้ถูกทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พื้นฐานงานซ่อมคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นไปที่งานซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คเป็นหลัก สิ่งที่เขียนต่อไปนี้ เขียนจากความรู้ที่มีอยู่อันน้อยนิดของเจ้าของบล็อกเท่านั้น เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง บันทึกประจำวัน กันลืม ของเจ้าของบล็อกเท่านั้น ซึ่งผมไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆที่ผู้อื่นนำไปใช้ทั้งสิ้น


มาเริ่มต้นกันเลยนะครับ  ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นสำคัญมากในงานซ่อมเมนบอร์ด ถ้าบอกว่าไม่รู้เกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เลยแล้วจะอยากจะเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ด ก็บอกได้คำเดียวครับว่าเหนื่อย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถครับ เพราะทุกอย่างมันเรียนรู้กันได้ เชื่อผมดิ ผมเรียนมา 555 

มาเริ่มต้นด้วยแหล่งจ่ายไฟกันก่อนแล้วกันนะครับ แหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊คนั้น จะมีอยู่สองอย่างคือ แบตเตอรี่และอะแดปเตอร์ เพราะฉนั้นผมจะพูดทั้งเรื่องการทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ และการทำงานของโน๊ตบุ๊คโดยใช้ไฟจากอะแดปเตอร์  


แหล่งจ่ายไฟแรกคือแบตเตอรี่ 
มาเริ่มต้นการทำงานของแบตเตอรี่กันครับ


จากภาพจะเห็นได้ว่า จุดสำหรับเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้ากับตัวเครื่องนั้นคือตำแหน่ง PJP2 


ที่ตำแหน่ง PJP2 นั้นจะสังเกตได้ว่ามีขาสำหรับต่อใช้งานอยู่จำนวนหลายขาด้วยกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจร โดยผมจะกล่าวโดยละเอียดอีกครั้งในภายหลัง โดยไฟหลักที่จะนำมาใช้เลี้ยงในวงจรนั้นจะเป็นไฟที่มาจากขาที่ 1 ซึ่งจะวิ่งผ่านไปยังขดลวด PL2 ไปยังตำแหน่ง BATT+ ซึ่งแรงดันที่ได้นั้นจะมีค่าเทียบเท่ากับแรงดันที่ออกจากตัวแบตเตอรี่ 


นอกจากนี้ยังมีขาที่จำเป็นในการใช้งานประกอบไปด้วยขา  DATA CLOCK  TEMP ซึ่งจะทำหน้าที่คอยติดต่อกับชุดชาร์ตแบตเตอรี่และไอโอคอนโทรลเลอร์ที่จะคอยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการทำงาน การชาร์ตแบตเตอรี่ และการตรวจสอบอุณหภูมิของแบตเตอรี่อีกด้วย ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดภายหลัง


แหล่งจ่ายไฟอีกชุดหนึ่งก็คืออะแดปเตอร์


จากภาพด้านบน PJP1 นั้นเป็นคอนเน็คเตอร์สำหรับเชื่อมต่อกับอะแดปเตอร์ เพื่อรับแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์เข้ามา


แรงดันไฟด้านบวก ซึ่งต่ออยู่กับขา 1 ของ PJP1  จะวิ่งผ่าน PL1 ซึ่งเป็นขดลวดทำหน้าที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า ไปยังจุด VIN ซึ่งมีแรงดันเทียบเท่ากับแรงดันขาเข้าคือแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ อาจจะเป็น 18V, 18.5V, 19V, 19.5V, 20V โวลต์ ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงดันของอะแดปเตอร์ โดยจะมีตัวเก็บประจุต่อเพื่อทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบขึ้นอยู่อีกหลายตัว ซึ่งมักจะเสียโดยการชอร์ตอยู่บ่อยๆเหมือนกัน แต่ก็ซ่อมง่ายที่สุดเหมือนกัน  อิอิ


หลังจากพูดเรื่องง่ายๆแล้ว มาดูยากขึ้นมาอีกนิดแล้วกันนะครับ


จากภาพ จะเห็นได้ว่า ไฟจากแบตเตอรี่และไฟจากอะแดปเตอร์นั้น จะมีจุดเริ่มต้นคนละจุดกัน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานที่แตกต่างกันด้วย 



ในตำแหน่ง BATT+ นั้น เป็นไฟที่มาจากแบตเตอรี่  และในตำแหน่ง VIN นั้นเป็นไฟที่มาจากอะแดปเตอร์




แรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ในตำแหน่ง VIN จะวิ่งผ่าน PD2 ซึ่งคือไดโอดที่สามารถนำไฟได้ทางเดียว วิ่งผ่านตัวต้านทาน PR13 PR14 ไฟยัง ตำแหน่ง VS เพื่อนำไฟจุดนี้ไปใช้ในวงจรอื่นต่อไป

ไฟ VS ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับไอซีออฟแอมป์ ไว้พูดคราวหน้าน่ะครับ หลายเรื่องละตอนนี้ 555


จากภาพ ถ้าไม่มีแรงดันไฟ VIN จากอะแดปเตอร์วิ่งเข้ามา จุด BATT+ ซึ่งมีไฟอยู่นั้นจะวิ่งผ่านไอโอด PD3 ที่คอยทำหน้าที่ให้ไฟไหลผ่านได้ทางเดียว และคอยป้องกันไฟจาก VIN ไหลย้อนเข้ามาด้วย จากนั้นไฟจะวิ่งผ่านไปยังจุด 51ON#  ที่ต่อกับสวิตซ์อยู่ รอการกดสวิตซ์เพื่อดึงไฟจุดนี้ลงกราวด์  แล้วจะทำให้ไฟจากแบตเตอรี่สามารถวิ่งผ่าน  เฟต PQ5 ไปยังจุดไฟ VS ต่อไปได้

เหนื่อยแล้วครับ หิวข้าว ไว้คราวหน้าเขียน เรียบเรียงใหม่แล้วกันครับ อธิบายเป็นตัวหนังสือมันยากจริงๆครับ  ไว้เจอกันคราวหน้าน่ะครับ อิอิ รับรองมึนตึบกว่านี้อีก รับประกันความมั่วครับ 555555

3 ความคิดเห็น: