วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ด เบื้องต้น










Adaptor IN

ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ โดยผมจะขอเรียกชุดนี้ว่า ADAPTOR IN แล้วกันนะครับตามความเข้าใจของผมเอง จะได้อธิบายได้เข้าใจง่ายตรงกัน ส่วนใครจะเรียกชื่อ อะไรยังไง ก็แล้วแต่น่ะครับ  ผมเขียนบทความไม่ได้อ้างอิงวิชาการ เลยจำเป็นต้องใช้จินตนาการเข้ามาช่วย 555  


เข้าเรื่องเลยนะครับ วงจรชุดนี้มักจะพบเจอเสียอยู่บ่อยๆ อาการเช่น ไฟไม่เข้า ลัดวงจร  เพราะไลน์วงจรตรงนี้มันเป็นไลน์ไฟ 19 V จากอะแดปเตอร์โดยตรง ซึ่งวงจรนี้มันเป็นวงจรที่ควบคุมการจ่ายไฟเข้า ออก พร้อมทั้งป้องกันแรงดันไฟที่ย้อนกลับ เข้าไปยังอะแด็ปเตอร์อีกด้วย พอมีการลัดวงจรเกิดขึ้น มันเลยเป็นวงจรชุดแรกๆที่จะเสียก่อนชาวบ้านครับ 

            ย้อนกลับไปเรื่อง VIN DETECTOR นิดนึงนะครับ เมื่อวงจรชุด VIN DETECTOR ทำการตรวจสอบแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ว่ามีค่าแรงดันไฟฟ้าเพียงพอต่อการนำมาใช้งานหรือไม่ เมื่อตรวจสอบว่าแรงดันไฟฟ้าจากอะแดปเตอร์มีแรงดันเพียงพอต่อการนำไปใช้งานได้แล้ว จะส่งสัญญาณ PACIN และสัญญาณ ACIN  ออกไปยังวงจรชุดถัดไป โดยที่ PACIN จะถูกส่งไปยังชุดควบคุมและป้องกันไฟเข้า ออก จากอะแดปเตอร์ 


สัญญาณ PACIN ซึ่งเป็นสัญญาณไฟที่ถูกส่งมาจากวงจรชุดที่แล้วนั้นจะมีแรงดันประมาณ 3.3V จะวิ่งผ่านตัวต้านทาน PR79 ไปยังจุดต่อไป


ภาพวงจรโดยรวมของวงจรชุดนี้ ผมขอเรียกว่า Adaptor IN แล้วกันน่ะครับ


จากภาพ ไฟ VIN จะมีแรงดันไฟเข้ามา สามารถวิ่งผ่านเฟตตัวแรกได้เลย ทำให้แรงดันจุด P2 เทียบเท่ากับ VIN จะวิ่งผ่านเฟตตัวที่สองยังไมได้ ต้องรอไฟที่เหมาะสม เพื่อจะมาสั่งออนเฟตตัวที่สองก่อน





หลังจากที่มีสัญญาณ PACIN วิ่งเข้าไปยังขา G ของมอสเฟต PQ22 และ PQ26 จึงทำให้มอสเฟตทั้งสองตัวทำงาน เมื่อมอสเฟตทั้งสองตัวทำงานมันจะดึงสัญญาณไฟจากขา D วิ่งลงกราวด์ 



เมื่อมอสเฟต PQ22 และ PQ26 ทำงาน ไฟที่อยู่ที่จุด P2 จะไหลผ่าน ตัวต้านทาน PR63 และ PR63 ผ่าน PQ26 ลงกราวด์เพื่อครบวงจร ซึ่งจะก่อให้มีแรงดันตกคร่อม PR69 ซึ่งเป็นตัวต้านทานที่ต่อไว้สำหรับการแบ่งแรงดัน เพื่อนำไปจ่ายให้กับขาเกตของมอสเฟตได้อย่างเหมาะสม ตามที่วงจรได้ออกแบบเอาไว้  ซึ่งเราก็สามารถคำนวนได้โดยใช้สูตรการคำนวนวงจรแบ่งแรงดัน  ดังนั้นไฟ VIN จึงวิ่งผ่านมอสเฟตทั้งสองตัวไปได้อย่างเต็มที่ เพื่อวิ่งไปยังจุด P3 ซึ่งทำให้ไฟปลายทางจุดนี้ วัดได้เทียบเท่า VIN




สรุปลำดับขั้นการทำงาน
  • ไฟ VIN วิ่งผ่านมอสเฟตตัวแรก รออยู่ที่จุด P2
  • ไฟ PACIN วิ่งเข้าขาเกตของ PQ22  PQ26 เพื่อสั่งให้มอสเฟตทั้งสองตัวทำงาน
  • ไฟ P2 ไหลผ่าน PR63 ,PR69 และ PQ26 ลงกราวด์ เกิดแรงดันตกคร่อม PR69
  • แรงดันที่ตกคร่อม PR69 จ่ายให้กับขาเกตุ PQ15 เพื่อสั่งให้ตัวมันทำงาน ส่งผลให้แรงดันไฟที่ขา S วิ่งผ่านไปยังขา D ได้ ไปยังจุด P3



ไฟจาก VIN วิ่งผ่านมอสเฟตทั้งสองตัว ผ่านจุด P3 ผ่านตัวต้านทาน PR 60 ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้จากตัวจริงๆที่เมนส์บอร์ด เพราะจะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดตัวใหญ่ๆหน่อย และ ค่าความต้านทานต่ำๆ ซึ่งในความเป็นจริงเราสามารถวัดไฟจุดนี้ได้ว่ามีมาหรือไม่ เพราะถ้าไฟจุดนี้มีมา แสดงว่าไฟในชุดก่อนหน้านี้ทำงานปกติ  เมื่อผ่านจุดนี้ไปแล้วก็จะไปยังจุด B+ ซึ่งเป็นจุดไฟหลักที่สำคัญที่สุด จะถูกนำไปใช้งานในวงจรไฟอื่นๆ ต่อไป ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความเรื่องต่อๆไป 
                    ไฟจุด B+ นั้น ถ้าเสียบอะแดปเตอร์ก็จะได้ไฟเทียบเท่ากับไฟ VIN หรือไฟอะแดปเตอร์นั่นเอง            
                    ถ้าเสียบแบตเตอรี่อย่างเดียว ไฟจุด B+  ก็คือไฟที่ได้จากแบตเตอรี่นั่นเอง
พูดซะยืดยาว สำหรับคนที่เข้าใจแล้ว มันก็ง่ายนิดเดียวจริงๆ แต่ถ้าคนไม่เข้าใจก็ยากน่ะ จะบอกให้ 555
ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเรื่องจินตนาการล้วนๆ คิดถูกก็ดี ถ้าผมคิดผิดก็พร้อมจะแก้ไขต่อไป  ไว้บทความหน้าจะเริ่มลึกลับซับซ้อนกว่านี้ อิอิ บทความนี้พอล่ะ โม้และมั่วซะนาน ขอตัวไปทำงานหาเงินกินข้าวก่อนแล้วกันนะครับ 55

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

VIN Detector

ในบทความก่อนผมได้พูดถึงเรื่องของแหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊ค ซึ่งมาจากแบตเตอรี่ และอะแดปเตอร์ วันนี้จะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊คโดยใช้อะแดปเตอร์กันครับ ว่ามีการทำงานอย่างไร แรงดันเท่าไรจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้

 VIN DETECTOR  วงจรตรวจสอบแรงดันไฟขาเข้า ทำหน้าที่ตรวจสอบระดับของแรงดันไฟฟ้าจากอะแดปเตอร์ที่ต่อเข้ามาในวงจร ว่ามีระดับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานหรือไม่ ถ้าระดับแรงดันไฟต่ำกว่าค่าที่แจ้งไว้ในวงจร เครื่องจะไม่สามารถเปิดได้ เพราะฉะนั้นวงจรนี้ก็ถือว่าเป็นวงจรที่มีความสำคัญมากวงจรหนึ่ง ซึ่งจะขออธิบายการทำงานของวงจรได้ดังนี้



จากภาพในตารางจะแสดงให้เห็นค่าแรงดันไฟขาเข้าที่สามารถทำให้เครื่องทำงานได้  ถ้าแรงดันไฟเข้าต่ำกว่าแรงดันไฟที่กำหนดไว้เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ 

LM358A

 Schmitt trigger Circuit






จากภาพเป็นการนำวงจร Schmitt trigger มาใช้งานจริงในวงจรโน๊ตบุ๊ค





จากภาพเป็นการออกแบบวงจรเพื่อแบ่งแรงดันไฟฟ้า โดยแรงดันไฟขาเข้าจะวิ่งผ่านตัวต้านทานตัวที่หนึ่งและตัวที่สอง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทานตัวที่สอง เพื่อนำแรงดันไฟที่ได้ไปจ่ายให้กับขาที่3 ของไอซีออฟแอมป์เพื่อทำการเปรียบเทียบแรงดันกับขาที่2 ต่อไป





จากภาพเป็นการสูตรการคำนวณหาค่าแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมตัวต้านทานตัวที่สอง ( R2) 







แรงดันขาที่ 3 จะต้องมีแรงดันมากกว่าแรงดันอ้างอิงในขาที่2 ซึ่งก็คือแรงดัน 3.3 เพราะฉะนั้น ถ้าแรงดันขาเข้า VIN มีค่าน้อยกว่าค่าที่ระบุไว้ในวงจร  เครื่องก็จะไม่สามารถทำงานได้ เพราะเมื่อแรงดันขาเข้าน้อย จะทำให้แรงดันไฟที่จะผ่านเข้าไปยังขา 3 ของไอซีออฟแอมป์มีค่าน้อยไปด้วย ซึ่งก็คือมีค่าน้อยกว่าแรงดันที่ขา 2 ฉะนั้น ถ้าแรงดันไฟขาเข้า มีค่าตามที่ระบุไว้ในวงจร จะทำให้มีแรงดันไฟขาเข้าที่ขา 3 มากกว่าแรงดันอ้างอิงที่ขา 2 ของไอซีออปแอมป์ เครื่องก็จะสามารถทำงานได้ปกติ




สรุปการทำงานของชุดวงจร VIN Detector



** VIN Detector  เป็นวงจรตรวจสอบระดับแรงดันไฟขาเข้าที่มาจากอะแดปเตอร์เท่านั้น จะไม่เกี่ยวข้องกับแรงดันไฟที่จ่ายโดยชุดแบตเตอรี่ 

เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าไหลผ่านวงจรชุดนี้ไปได้จะวิ่งไปยังชุดต่อไปตามสัญญาณ PACIN  ACIN ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความต่อไปครับ

บทความนี้ รู้สึกจะยาวเกินล่ะ แค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ ขอเวลาไปทำงานหาเงิน ซื้อข้าวกินก่อน 555




วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

จุดเริ่มต้น นับหนึ่งใหม่อีกครั้ง

บล็อกนี้ถูกทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พื้นฐานงานซ่อมคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นไปที่งานซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คเป็นหลัก สิ่งที่เขียนต่อไปนี้ เขียนจากความรู้ที่มีอยู่อันน้อยนิดของเจ้าของบล็อกเท่านั้น เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง บันทึกประจำวัน กันลืม ของเจ้าของบล็อกเท่านั้น ซึ่งผมไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆที่ผู้อื่นนำไปใช้ทั้งสิ้น


มาเริ่มต้นกันเลยนะครับ  ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์นั้นสำคัญมากในงานซ่อมเมนบอร์ด ถ้าบอกว่าไม่รู้เกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เลยแล้วจะอยากจะเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ด ก็บอกได้คำเดียวครับว่าเหนื่อย แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถครับ เพราะทุกอย่างมันเรียนรู้กันได้ เชื่อผมดิ ผมเรียนมา 555 

มาเริ่มต้นด้วยแหล่งจ่ายไฟกันก่อนแล้วกันนะครับ แหล่งจ่ายไฟโน๊ตบุ๊คนั้น จะมีอยู่สองอย่างคือ แบตเตอรี่และอะแดปเตอร์ เพราะฉนั้นผมจะพูดทั้งเรื่องการทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ และการทำงานของโน๊ตบุ๊คโดยใช้ไฟจากอะแดปเตอร์  


แหล่งจ่ายไฟแรกคือแบตเตอรี่ 
มาเริ่มต้นการทำงานของแบตเตอรี่กันครับ


จากภาพจะเห็นได้ว่า จุดสำหรับเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้ากับตัวเครื่องนั้นคือตำแหน่ง PJP2 


ที่ตำแหน่ง PJP2 นั้นจะสังเกตได้ว่ามีขาสำหรับต่อใช้งานอยู่จำนวนหลายขาด้วยกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจร โดยผมจะกล่าวโดยละเอียดอีกครั้งในภายหลัง โดยไฟหลักที่จะนำมาใช้เลี้ยงในวงจรนั้นจะเป็นไฟที่มาจากขาที่ 1 ซึ่งจะวิ่งผ่านไปยังขดลวด PL2 ไปยังตำแหน่ง BATT+ ซึ่งแรงดันที่ได้นั้นจะมีค่าเทียบเท่ากับแรงดันที่ออกจากตัวแบตเตอรี่ 


นอกจากนี้ยังมีขาที่จำเป็นในการใช้งานประกอบไปด้วยขา  DATA CLOCK  TEMP ซึ่งจะทำหน้าที่คอยติดต่อกับชุดชาร์ตแบตเตอรี่และไอโอคอนโทรลเลอร์ที่จะคอยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการทำงาน การชาร์ตแบตเตอรี่ และการตรวจสอบอุณหภูมิของแบตเตอรี่อีกด้วย ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดภายหลัง


แหล่งจ่ายไฟอีกชุดหนึ่งก็คืออะแดปเตอร์


จากภาพด้านบน PJP1 นั้นเป็นคอนเน็คเตอร์สำหรับเชื่อมต่อกับอะแดปเตอร์ เพื่อรับแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์เข้ามา


แรงดันไฟด้านบวก ซึ่งต่ออยู่กับขา 1 ของ PJP1  จะวิ่งผ่าน PL1 ซึ่งเป็นขดลวดทำหน้าที่เหนี่ยวนำไฟฟ้า ไปยังจุด VIN ซึ่งมีแรงดันเทียบเท่ากับแรงดันขาเข้าคือแรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ อาจจะเป็น 18V, 18.5V, 19V, 19.5V, 20V โวลต์ ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงดันของอะแดปเตอร์ โดยจะมีตัวเก็บประจุต่อเพื่อทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบขึ้นอยู่อีกหลายตัว ซึ่งมักจะเสียโดยการชอร์ตอยู่บ่อยๆเหมือนกัน แต่ก็ซ่อมง่ายที่สุดเหมือนกัน  อิอิ


หลังจากพูดเรื่องง่ายๆแล้ว มาดูยากขึ้นมาอีกนิดแล้วกันนะครับ


จากภาพ จะเห็นได้ว่า ไฟจากแบตเตอรี่และไฟจากอะแดปเตอร์นั้น จะมีจุดเริ่มต้นคนละจุดกัน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานที่แตกต่างกันด้วย 



ในตำแหน่ง BATT+ นั้น เป็นไฟที่มาจากแบตเตอรี่  และในตำแหน่ง VIN นั้นเป็นไฟที่มาจากอะแดปเตอร์




แรงดันไฟจากอะแดปเตอร์ในตำแหน่ง VIN จะวิ่งผ่าน PD2 ซึ่งคือไดโอดที่สามารถนำไฟได้ทางเดียว วิ่งผ่านตัวต้านทาน PR13 PR14 ไฟยัง ตำแหน่ง VS เพื่อนำไฟจุดนี้ไปใช้ในวงจรอื่นต่อไป

ไฟ VS ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับไอซีออฟแอมป์ ไว้พูดคราวหน้าน่ะครับ หลายเรื่องละตอนนี้ 555


จากภาพ ถ้าไม่มีแรงดันไฟ VIN จากอะแดปเตอร์วิ่งเข้ามา จุด BATT+ ซึ่งมีไฟอยู่นั้นจะวิ่งผ่านไอโอด PD3 ที่คอยทำหน้าที่ให้ไฟไหลผ่านได้ทางเดียว และคอยป้องกันไฟจาก VIN ไหลย้อนเข้ามาด้วย จากนั้นไฟจะวิ่งผ่านไปยังจุด 51ON#  ที่ต่อกับสวิตซ์อยู่ รอการกดสวิตซ์เพื่อดึงไฟจุดนี้ลงกราวด์  แล้วจะทำให้ไฟจากแบตเตอรี่สามารถวิ่งผ่าน  เฟต PQ5 ไปยังจุดไฟ VS ต่อไปได้

เหนื่อยแล้วครับ หิวข้าว ไว้คราวหน้าเขียน เรียบเรียงใหม่แล้วกันครับ อธิบายเป็นตัวหนังสือมันยากจริงๆครับ  ไว้เจอกันคราวหน้าน่ะครับ อิอิ รับรองมึนตึบกว่านี้อีก รับประกันความมั่วครับ 555555